อ็องรี มูโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Henri Mouhot
ภาพวาดโดย H. Rousseau
เกิด15 พฤษภาคม ค.ศ. 1826(1826-05-15)
มงเบลียาร์ ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1861(1861-11-10) (35 ปี)
บ้านพนม ล้านช้าง
สัญชาติฝรั่งเศส
อาชีพนักสำรวจ นักธรรมชาติวิทยา
มีชื่อเสียงจากนครวัด

อาแล็กซ็องดร์ อ็องรี มูโอ (ฝรั่งเศส: Alexandre Henri Mouhot; 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1826 - 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1861) เป็นนักธรรมชาติวิทยาและนักสำรวจชาวฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เขาเกิดที่เมืองมงเบลียาร์ จังหวัดดู ใกล้ชายแดนสวิส แต่ใช้ชีวิตในวัยเด็กในรัสเซียฝั่งเอเชีย เขาเสียชีวิตใกล้เมืองนาพัน ประเทศลาว เขาเป็นที่จดจำจากการค้นพบเมืองพระนคร สุสานของมูโอตั้งอยู่นอกบ้านพนม ทางตะวันออกของหลวงพระบาง

ประวัติ[แก้]

เขาเดินทางไปทั่วยุโรปกับชาลส์น้องชายของเขา ศึกษาเทคนิคการถ่ายภาพที่พัฒนาโดยหลุยส์ ดาแกร์ ในปี ค.ศ. 1856 เขาเริ่มอุทิศตนเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เมื่อได้อ่านหนังสือชื่อ The Kingdom and People of Siam ของเซอร์จอห์น เบาริง ในปี ค.ศ. 1857 มูโอตัดสินใจเดินทางไปอินโดจีนเพื่อดำเนินการสำรวจทางพฤกษศาสตร์หลายครั้งเพื่อเก็บตัวอย่างสัตววิทยาชนิดใหม่ คำขอทุนครั้งแรกของเขาถูกปฏิเสธโดยรัฐบาลของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ราชสมาคมภูมิศาสตร์และสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอนให้การสนับสนุนเขา และเขาออกเดินทางสู่กรุงเทพฯ ผ่านสิงคโปร์

มูโอเดินทางจากลอนดอนมายังกรุงเทพฯเมื่อ 27 เมษายน พ.ศ. 2401 เมื่อมาถึงสยาม มูโอได้ออกสำรวจในเส้นทางต่างๆ 4 เส้นทางด้วยกันคือ

  1. เส้นทางที่ 1 เดินทางจากกรุงเทพฯไปยังพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง
  2. เส้นทางที่ 2 เดินทางจากกรุงเทพฯ เลียบชายฝั่งไปยังจันทบุรี เกาะช้าง เกาะกูด ไปเมืองอุดงมีชัย พนมเปญของกัมพูชา ไปพักอยู่กับชนเผ่าเสตียงที่เมืองบุรีลม แล้วเดินทางกลับทางทะเลสาบเขมร ปราสาทนครวัด พระตะบอง กบินทร์บุรี แล้วจึงเข้ากรุงเทพฯ
  3. เส้นทางที่ 3 เดินทางจากกรุงเทพฯไปยังเพชรบุรี
  4. เส้นทางที่ 4 เดินทางไปลพบุรี ข้ามเทือกเขาดงพญาไฟ ไปชัยภูมิ เลย ปากลาย หลวงพระบาง มูโอเสียชีวิตด้วยไข้มาลาเรียกลางป่าดงดิบในลาวระหว่างการเดินทางสำรวจครั้งนี้ หลุมศพของมูโอตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคาน ใกล้หลวงพระบาง

สัตว์เลื้อยคลานสองชนิดในเอเชียได้ตั้งชื่อตามชื่อของมูโอ : Cuora mouhotii (เต่าชนิดหนึ่ง) ; และ Oligodon mouhoti (งูชนิดหนึ่ง) [1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Beolens, Bo; Watkins, Michael; Grayson, Michael. 2011. The Eponym Dictionary of Reptiles. Baltimore: Johns Hopkins University Press. xiii + 296 pp. ISBN 978-1-4214-0135-5. ("Mouhot", p. 183).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]