ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การออกแบบวงจรดิจิทัล | Digital Circuit Design


MU


รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย

รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น

"การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"

เกี่ยวกับรายวิชา

การออกแบบวงจรดิจิตอลเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งของการศึกษาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ วิศวกรรมไฟฟ้า เป็นต้น เนื้อหาในรายวิชานี้จะแนะนำให้รู้จักถึงความแตกต่างของข้อมูลแบบดิจิตอลกับข้อมูลในรูปแบบอื่น ทำไมในปัจจุบันนี้ถึงมีแต่คำว่าดิจิตอลอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอล เครื่องมือวัดแบบดิจิตอล หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบันก็ล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากองค์ความรู้ด้านดิจิตอลด้วยกันทั้งสิ้น

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 8 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 48 นาที)

เนื้อหาในรายวิชานี้ประกอบไปด้วย 4 ส่วนได้แก่

  • แนะนำความแตกต่างระหว่างดิจิตอลกับอนาล็อก ข้อดี/ข้อเสีย ของดิจิตอล รวมถึงประโยชน์ที่ได้จากวงจรแบบดิจิตอล
  • ศึกษาเรื่องระบบจำนวน เลขฐาน รูปแบบการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรหัสต่างๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานต่อไปในการออกแบบวงจรดิจิตอล
  • ศึกษาเรื่องวงจรพื้นฐานทางดิจิตอล เช่น Logic Gate ลักษณะการทำงาน การประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่างๆ
  • ศึกษาการออกแบบวงจรดิจิตอลพื้นฐาน การทำให้วงจรดิจิตอลมีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการประยุกต์ใช้งานวงจรดิจิตอลในเรื่องต่างๆ เช่น ใช้เป็นวงจรควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ เป็นต้น

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  •  สามารถแยกแยะข้อดีข้อเสียของแอนะล็อกและดิจิตอลได้
  • เข้าใจรูปแบบรหัสเลขฐานและรหัสแบบต่างๆ ได้
  • เข้าใจหลักการทำงานของประตูสัญญาณแบบต่างๆ
  • สามารถออกแบบวงจรดิจิตอลได้
  • สามารถลดรูปวงจรดิจิตอลให้อยู่ในรูปอย่างง่ายได้

อาจารย์ผู้สอน

Course Staff Image #1

อ.ฆนัท พูลสวัสดิ์

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

E-mail : kanat.poo@mahidol.ac.th

Course Staff Image #2

ดร.มิ่งมานัส ศิวรักษ์

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ระดับของเนื้อหาวิชา

ปริญญาตรี/เนื้อหาเรียนตามอัธยาศัย/เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา EGCO231 Digital Circuit Design

ประเภทของการเรียนในรายวิชา (เรียนด้วยตัวเอง เรียนแบบกลุ่ม)

เรียนด้วยตนเอง

ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา

เบื้องต้น

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน 

ประเมินผลการเรียนผ่านแบบทดสอบท้ายบทเรียนในแต่ละครั้ง
โดยต้องมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 60 %


Enroll