ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การออกแบบโมเดลและงานพิมพ์ 3D เพื่อการบริการชุมชน | 3D Model design & printing for community service


MU

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

 ยินดีต้อนรับสู่รายวิชา MU007 

 การออกแบบโมเดลและงานพิมพ์ 3D เพื่อการบริการชุมชน 

 3D Model design & printing for community service  


เกี่ยวกับรายวิชา

เป็นรายวิชาสำหรับผู้สนใจทั่วไปและนักศึกษา หลักการและทฤษฎีด้านการออกแบบ การเข้าใจมุมมอง 3 มิติ หลักการเขียนแบบ 3 มิติ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโมเดล 3 มิติเพื่อสร้างชิ้นงาน โปรแกรมที่เป็น Freeware , License และความแตกต่างของความสามารถของโปรแกรมนั้นๆ หลักการและทฤษฎีด้านวัสดุสำหรับการพิมพ์ 3มิติ เส้น Filament ชนิดต่างและคุณสมบัติ ลำดับการออกแบบด้วยโปรแกรม ขั้นตอนการขึ้นรูปด้วยเทคนิคต่างๆ การใช้อุปกรณ์เครื่องมือวัดต่างๆ เช่น เวอร์เนีย เป็นต้น แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นงานและตัวอย่างงานที่ไม่สามารถหาได้ในท้องตลาด หลักการออกแบบเกี่ยวกับทางกล การทดแรง การใช้เฟือง การออกแบบเฟืองทดแรงต่างๆ ข้อต่อ ข้อพับ สลัก โปรแกรมวิเคราะห์ความแข็งแรงของชิ้นงาน เทคนิคการพิมพ์โมเดล 3 มิติ การจัดวางชิ้นงานก่อนพิมพ์เพื่อให้ผลพิมพ์ออกมาดีที่สุด

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

2.1. รู้หลักการมุมมอง 3 มิติ และหลักการเขียนแบบเบื้องต้น รู้จักอุปกรณวัดระยะต่าง ๆ ที่จําเป็นในการออกแบบวัตถุ ชิ้นงาน
   รู้หลักการด้านวัสดุ ชนิดของพลาสติกแบบต่าง ๆ คุณสมบัติกับการใช้งาน รู้จักประเภทของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer)
   รู้จักโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบขึ้นวัตถุ 3มิติ  รู้วิธีคิดในการออกแบบเชิงสรางสรรค รู้การจัดวางวัตถุในแบบต่าง ๆ ก่อนพิมพ์

2.2.  สามารถอ่านและเข้าใจในงานเขียนแบบเบื้องต้นได้ และบอกถึงความแตกต่างในมุมมองต่าง ๆ ของวัตถุ 3 มิติ
    สามารถนำอุปกรณ์เพื่อการวัดระยะของชิ้นงานได้ และสามารถบอกถึงความแตกต่างของเครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ ได้
2.3. สามารถใช้งานโปรแกรมเพื่อการออกแบบขึ้นรูป 3 มิติได้ในวิธีต่างๆดังนี้
    - การนำรูปเลขาคณิต 2 มิติเพื่อขึ้นรูปเชิง 3 มิติ และปรับเปลี่ยนขนาดได้
    - การนำวัตถุรูปทรง 3 มิติ เพื่อขึ้นรูปและปรับเปลี่ยนขนาดรูปทรงได้
    - การหมุนปรับชิ้นงาน วัตถุที่ขึ้นรูป เพื่อการจัดวางตำแหน่งให้ได้ชิ้นงานได้
    - การผสมผสาน รวมชิ้นวัตถุ แยกชิ้นวัตถุ เพื่อให้ได้ชิ้นงานตามที่ต้องการได้
    - การลบคม เฉือนแต่งชิ้นงาน เพื่อเติมหรือปรับรายละเอียดของชิ้นงานให้เหมาะสมได้
2.4. สามารถออกแบบโมเดลขึ้นเป็นชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้งานจริง สามารถเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับงานพิมพ์ได้และ
   สามารถการปรับแตงโมเดลเพื่อความเหมาะสมในการพิมพได้

พื้นฐานที่ควรรู้ก่อนเรียนวิชานี้

ความรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น โปรแกรมประยุกต์พิ้นฐานเช่น Microsoft Office ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนแบบ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

อ.วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

E-mail : worawit.isr@mahidol.edu

ดร.สุปรีย์ บูรณะกนิษฐ์

ดร.สุปรีย์ บูรณะกนิษฐ

ดุษฏีบัณฑิตเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (ระบุเอกสาร ตำรา เว็บไซต์ ฯลฯ)

นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์ผ่าน/ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร (หากมี)

การวัดผล - แบบฝึกหัด 48 % แบบทดสอบ 12 % สอบวัดผล 40 % เกณฑ์ผ่าน - ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้มากกว่าหรือเท่ากับ 40 %

คำถามที่ถามบ่อย

โปรแกรมที่ใช้ในการเรียนวิชานี้?

โปรแกรมที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้เรียนในวิชานี้ โปรแกรมหลัก Autodesk 123D Design โปรแกรมเสริม ได้แก่ STL Viewer

ดาวน์โหลดได้ที่ Autodesk 123D เลือก 123D Design และทำการติด,ตั้งโปรแกรม>

จำเป็นต้องมีเครื่องพิมพ์ 3D เป็นของตนเองหรือไม่หากต้องเรียนวิชานี้

ไม่จำเป็นต้องมี หากจะพิมพ์ชิ้นงานต้องส่งไฟล์งานไปยังหน่วยงานที่มีบริการพิมพ์ชิ้นงาน 3D

"สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA"

Enroll