ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบริหารงานภาครัฐ | Public Administration


NU

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

ระบบราชการ ระบบราชการกับการเมือง การแบ่งส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ อํานาจหน้าที่ การดําเนินการตามกฎหมายและนโยบายของรัฐ หลักการปฏิบัติงานภาครัฐเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด การบริหารองค์กรภาครัฐ การบริหารการดำเนินงานบริการสาธารณะ การจัดการภาครัฐแนวใหม่ และธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ

Bureaucracy system’ bureaucracy and politics, segregation of government service’s duties and government sectors, authorities, state’s policy government service’s working procedures to ensure the most efficient and effective results, public organization administration, the administration of public services, new public management, and good governance for public administration.

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Course Objectives)

หลังจากที่ผู้เรียนเรียนจบหัวข้อทั้ง 5 ชั่วโมงแล้ว ผู้เรียนจะสามารถ

1)      มีความรู้เรื่องระบบราชการและระบบราชการกับการเมือง และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบราชการกับการเมืองได้

2)      เข้าใจความหมายของการบริหารองค์กรภาครัฐและหลักการในการบริหารองค์กรภาครัฐ

3)      มีความรู้เรื่องการบริหารการดำเนินงานบริการสาธารณะ

4)      เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่และการปฏิรูประบบราชการ

5)      มีความรู้เรื่องการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ

เกณฑ์การประเมินผล (Course Evaluation)

เกณฑ์การประเมินผลทั้งสิ้นร้อยละ 100 ผู้เรียนที่ผ่านรายวิชาจะต้องได้รับการประเมินผลมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป โดยมีคะแนนการวัดผลดังนี้

         - แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) 5% ของแต่ละบทเรียน จำนวน 5 บทเรียน         รวม 25%

         - แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) 8% ของแต่ละบทเรียน จำนวน 5 บทเรียน        รวม 40%

         - ข้อสอบปลายภาค เนื้อหาจำนวน 5 บทเรียน                                                       รวม 35%

                                                                                             รวมคะแนนวัดผลทั้งสิ้น      100%

ทั้งนี้ ผู้เรียนจะต้องทำแบบประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองและแบบประเมินผลความพึงพอใจรายวิชา จึงจะได้รับการพิจารณาให้ผ่าน

ผู้เรียนควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในรายวิชาอย่างสม่ำเสมอ รายวิชานี้จะมีระยะเวลาการจัดการเรียนการสอนจะจัดภายในกำหนด 4 สัปดาห์ และจัดการเรียนการสอนไม่เกิน 2 รอบต่อภาคการศึกษา โดยผู้สอนจะกำหนดให้ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  และในแต่ละสัปดาห์จะดำเนินการเปิดบทเรียนให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทั้ง 5 หน่วยเรียน โดยเนื้อหาการเรียนการสอนทั้งหมดเป็นแบบต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้เรียนไม่สามารถเรียนข้ามหัวข้อได้ และสามารถเรียนจบเนื้อหาทั้งหมดได้ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์

คุณสมบัติผู้เรียน/ความรู้พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน (Course Prerequisite)

รัฐศาสตร์เบื้องต้น

จำนวนชั่วโมงเรียน (Course Hours)

5 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 1 ชั่วโมง 45 นาที)

จำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง (Course Hours/Week, or/Time)

1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ระดับของเนื้อหารายวิชา (Level of Course Content)

เนื้อหาเรียนตามอัธยาศัย

ประเภทของการเรียนในรายวิชา (Type of Course Learning)

เรียนด้วยตนเอง

ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา (Difficulty of Couse Learning)

เบื้องต้น

กลุ่มเป้าหมายของรายวิชา (Course Learning Targets)

นักศึกษาระดับปริญญาตรีและประชาชนทั่วไป

ทีมอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา (Instructor Team)

ดร.ศิวาภรณ์ ไชยเจริญ

(Siwaporn Chaicharoen, Ph.D.)

อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Email: siwapornc@nu.ac.th

   

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัลลภัช สุขสวัสดิ์

(Assistant Prof. Wanlapat Suksawas, Ph.D.)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Email: wanlapats@hotmail.com

 

"สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ThaiMOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA"

Enroll