ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบริหารผลงานเพื่อองค์กรประสิทธิภาพสูง | Performance Management System for High Performance Organization


PIM

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)


จริงหรือ ? PMS เป็นเครื่องมือการบริหารที่สําคัญขององค์กรทุกธุรกิจ

ที่ส่งผลต่อเป้าหมายขององค์กรในระยะยาว

จริงหรือ ? การประเมินผลงานของพนักงาน องค์กรควรเน้นไปที่

การวัด KPIs และ Competency

เพื่อพัฒนาผลักดันให้ผลลัพธ์ของพนักงานเกิดขึ้น

 มาหาคำตอบที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงในรายวิชานี้

รายวิชา

"การบริหารผลงานเพื่อองค์กรประสิทธิภาพสูง"

Performance Management System

for High Performance Organization

คำอธิบายรายวิชา

ความหมายของระบบบริหารผลงาน แนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงาน องค์กรประสิทธิภาพสูง วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน คุณลักษณะตัวชี้วัดผลงานหลัก แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดผลงานหลัก การแจ้งและหารือผลการปฏิบัติงาน กระบวนการบริหารผลงาน หลักการการออกแบบระบบการบริหารผลงานและการดำเนินการตามระบบการบริหารผลงาน การบูรณาการระบบการบริหารผลงานกับระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ ระบบสมรรถนะและออกแบบแบบประเมินสมรรถนะ และการประยุกต์ใช้ระบบสมรรถนะหรือขีดความสามารถของบุคลากร

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 10 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงานได้
  2. ผู้เรียนสามารถอธิบายระบบการบริหารผลงานได้
  3. ผู้เรียนสามารถออกแบบระบบบริหารผลงานให้สอดคล้องกับบริบทขององค์การได้
  4. ผู้เรียนสามารถอธิบายระบบสมรรถนะและออกแบบแบบประเมินสมรรถนะได้
  5. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ระบบสมรรถนะหรือขีดความสามารถของบุคลากรได้

คุณสมบัติผู้เรียน

สำหรับผู้ที่สนใจจะสอบวัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาการบริหารผลงาน นักศึกษา นักบริหารบุคคล และผู้บริหารองค์กร

เกณฑ์การวัดผล

เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 70%

ทีมผู้สอนและพัฒนา MOOC

ชื่อผู้สอน

ผศ.กีรติกร บุญส่ง

  • B.A. Tourism and Hotel Studies (1st Class Honors)
  • M.S. Administration Technology (Applied Management)
  • ประสบการณ์สอนในรายวิชาการบริหารผลงาน มากกว่า 10 ปี
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารผลงาน และระบบสมรรถนะ
  • สังกัด สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ชื่อผู้สอน

ดร. วิเชศ คำบุญรัตน์

  • ปริญญาเอก สาขาจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปริญญาโท สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาตรี สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประสบการณ์สอนในรายวิชาการบริหารผลงาน มากกว่า 10 ปี
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารผลงาน และระบบสมรรถนะ
  • สังกัด สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

โครงสร้างรายวิชา

วิชานี้ ผู้เรียนสามารถเรียนหัวข้อต่างๆ ตามอัธยาศัย ในเวลาที่ตนเองสะดวก อย่างไรก็ดี ทีมผู้สอนขอแนะนำให้เรียนรู้และทำกิจกรรมตามลำดับชั่วโมงเรียนรู้ ดังนี้

บทที่ 1: แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงาน 

1.1 แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงาน

1.2 องค์กรประสิทธิภาพสูง

บทที่ 2: กระบวนการบริหารผลงาน หลักการการออกแบบระบบการบริหารผลงานและการดำเนินการตามระบบการบริหารผลงาน

2.1 การประเมินผลการปฏิบัติงาน

2.2 การแจ้งผลการปฏิบัติงาน

2.3 กระบวนการบริหารผลงาน

2.4 หลักการการออกแบบระบบการบริหารผลงานและการดำเนินการตามระบบการบริหารผลงาน

บทที่ 3: การออกแบบระบบบริหารผลงานให้สอดคล้องกับบริบทขององค์การ

3.1 ตัวแบบระบบบริหารผลงาน

3.2 ตัวชี้วัดผลงาน วิธีการวัดผลงาน และการรายงานผลการปฏิบัติงาน

3.3 การบูรณาการระบบการบริหารผลงานกับระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ

บทที่ 4: แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสมรรถนะหรือขีดความสามารถของคน (People Capability and Competency Modeling)

4.1 แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสมรรถนะหรือขีดความสามารถของคน

4.2 สมรรถนะหรือขีดความสามารถของคน

4.3 การประเมินสมรรถนะ

บทที่ 5: การประยุกต์ใช้ระบบสมรรถนะ (Competency) หรือขีดความสามารถของคน

5.1 ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์บนฐานสมรรถนะ (Competency based HRM)

5.2 แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษาระบบสมรรถนะ


ประมวลรายวิชา

ประมวลรายวิชา


 

เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน

พัฒนาในกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน


สอนโดย คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
CC-BY-NC-SA
Enroll