ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบริหารค่าตอบแทน | Compensation Management and Benefit


PIM

การบริหารค่าตอบแทนยากจริงหรือ

หากท่านรู้หลักการของการบริหารค่าตอบแทน

ท่านจะร้องว่า ... ไม่ยากเลย

 

ปัญหาเดิม คือ

จะไป ... หาความรู้จากที่ไหน

เมื่อหาเจอ ... ค่าใช้จ่ายในการเรียนก็สูงมาก

เรียนจบแล้ว ... ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง

 

หยุดทุกปัญหา

วันนี้ท่านหาความรู้เรื่องค่าตอบแทนได้ที่นี่

ไม่มีค่าใช้จ่าย

นำไปใช้ได้จริง

เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา

 

แล้วจะช้าอยู่ทำไม

รายวิชา

“การบริหารค่าตอบแทน”

(Compensation Management and Benefit)

 

คำอธิบายรายวิชา

แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ค่าตอบแทน การจัดทำโครงสร้างระดับงาน โครงสร้างเงินเดือนและระบบการบริหารเงินเดือน และสวัสดิการ บริหารและประเมินผลการดำเนินงานค่าตอบแทน รวมทั้งแนวทางการสื่อสารระบบค่าตอบแทนให้กับพนักงาน

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 10 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทน
  2. อธิบายวิธีการวิเคราะห์งาน การจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน การประเมินค่างาน และการจัดโครงสร้างระดับตำแหน่งงาน
  3. อธิบายการคำนวณค่ากระบอกค่าจ้างและจัดทำโครงสร้างเงินเดือน
  4. อธิบายการกำหนดค่าจ้างคนเข้าใหม่ การคิดคำนวณการขึ้นเงินเดือน และวิธีการปรับเงินเดือนเพื่อไม่ให้เงินเดือนคนเข้าใหม่แซงเงินเดือนคนเก่าที่มีอยู่ในองค์การ
  5. อธิบายวิธีการการจัดสวัสดิการให้แก่พนักงาน และอธิบายวิธีการชี้แจงระบบการให้ค่าตอบแทนขององค์การแก่พนักงาน

คุณสมบัติผู้เรียน

สำหรับผู้ที่สนใจจะสอบวัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาการบริหารผลงาน นักศึกษา นักบริหารบุคคล และผู้บริหารองค์กร

เกณฑ์การวัดผล

เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 70%

ทีมผู้สอนและพัฒนา MOOC

ชื่อผู้สอน

ดร.อุทัย สวนกูล

  • ปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ University of Northern Philippines
  • ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประสบการณ์สอนในรายวิชาการบริหารค่าตอบแทน มากกว่า 20 ปี
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารค่าตอบแทน การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารผลงาน และระบบสมรรถนะ
  • สังกัด สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • e-mail : uthaisua@hotmail.com

 

ชื่อผู้สอน

ดร.วิเชศ คำบุญรัตน์

  • ปริญญาเอก สาขาจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปริญญาโท สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาตรี สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประสบการณ์สอนในรายวิชาการบริหารผลงาน มากกว่า 10 ปี
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารผลงาน และระบบสมรรถนะ การบริหารค่าตอบแทน
  • สังกัด สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • e-mail : wichetkha@gmail.com

ปฏิทินการสอน

วิชานี้ ผู้เรียนสามารถเรียนหัวข้อต่างๆ ตามอัธยาศัย ในเวลาที่ตนเองสะดวก อย่างไรก็ดี ทีมผู้สอนขอแนะนำให้เรียนรู้และทำกิจกรรมตามลำดับชั่วโมงเรียนรู้ ดังนี้

บทที่ 1:  ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทน

1.1 แนวคิดและความหมายของค่าตอบแทน และการจ่ายตามตำแหน่ง จ่ายตามตัวคน และจ่ายตามความสำเร็จ

1.2 ความหมายของดุลยภาพภายในองค์การ ดุลยภาพภายนอกองค์การ และดุลยภาพระหว่างบุคคลในการบริหารค่าตอบแทน

บทที่ 2: วิธีการวิเคราะห์งาน การจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน การประเมินค่างาน และการจัดโครงสร้างระดับตำแหน่งงาน

2.1 ความหมายการวิเคราะห์งานและวิธีการวิเคราะห์งาน

2.2 ความสำคัญของการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน

2.3 ความสำคัญของการประเมินค่างาน

2.4 สรุปการจัดโครงสร้างระดับงาน

บทที่ 3: การคำนวณค่ากระบอกค่าจ้างและการจัดทำโครงสร้างเงินเดือน

3.1 ความหมายและระบุองค์ประกอบของโครงสร้างเงินเดือน

3.2 หลักการคำนวณกระบอกค่าจ้าง

3.3 การทำโครงสร้างเงินเดือน

บทที่ 4: การกำหนดค่าจ้างคนเข้าใหม่ การคิดคำนวณการขึ้นเงินเดือน และวิธีการปรับเงินเดือนเพื่อไม่ให้เงินเดือนคนเข้าใหม่แซงเงินเดือนคนเก่าที่มีอยู่ในองค์การ

4.1 วิธีการกำหนดค่าจ้างคนเข้าใหม่

4.2 วิธีการคำนวณการขึ้นเงินเดือน

4.3 วิธีการคำนวณปรับเงินเดือนคนเก่าเพื่อไม่ให้เงินเดือนคนเข้าใหม่สูงกว่าเงินเดือนคนเก่า

บทที่ 5: วิธีการการจัดสวัสดิการให้แก่พนักงาน และอธิบายวิธีการชี้แจงระบบการให้ค่าตอบแทนขององค์การแก่พนักงาน

5.1 วิธีการจัดสวัสดิการให้แก่พนักงาน

5.2 วิธีชี้แจงระบบการระบบค่าตอบแทนขององค์การให้พนักงานทราบ

บทที่ 6: ถามตอบไขข้อข้องใจด้านการบริหารค่าตอบแทน

 

ประมวลรายวิชา

ประมวลรายวิชา

 


 

เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน

พัฒนาในกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน


สอนโดย คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
CC-BY-NC-SA
Enroll