ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เศรษฐศาสตร์ตลาดการเงิน | Economics of Financial Market


RSU

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)


คำแนะนำรายวิชา

วิชาเศรษฐศาสตร์ตลาดการเงิน นั้นจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ บทบาทของเงิน ธนาคาร และสถาบันการเงินอื่น ๆ รวมถึงธนาคารกลาง ต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ลักษณะและการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ระบบธนาคารพาณิชย์ ตลาดทุน และตราสารหนี้ โครงสร้างและบทบาทของตลาดการเงินต่อระบบการเงิน และระบบเศรษฐกิจ ศึกษากลไกของตลาดการเงิน พัฒนาการ ความลึกของตลาดการเงินที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์รายวิชา

1)เพื่อให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงิน หลักการและหน้าที่เกี่ยวกับเงิน ตัวแปรทางเศรษฐกิจมีผลต่อตลาดการเงินอย่างไร และตลาดการเงินมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ

2)เพื่อศึกษาถึงมาตรฐการเงิน เครดิต และเครื่องมือเครดิต

3)เพื่อเข้าใจถึงเรื่องปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ทฤษฎีเกี่ยวกับค่าของเงิน ภาวะการเงิน รวมทั้งเรื่องการค้า การลงทุนและการเงินระหว่างประเทศ

4)เพื่อศึกษาถึงลักษณะของระบบการเงินระหว่างประเทศ

5)เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลางในการกำหนดสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งการดำเนินธุรกิจของธนาาคารแห่งประเทศไทย

6)เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ระบบธนาคารพาณิชย์ การบริาหารงานและการปฏิบัติงานของธนาคารพาณิชย์

7)เพื่อศึกษาถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องตลาดการเงิน ได้แก่ ตลาดเงินและตลาดทุน ตราสารหนี้รวมทั้งสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์

วิชานี้จึงเหมาะสมกับ ผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักวิเคราะห์ระบบ นักเรียน นักศึกษาทั่วไป

Course Staff

Course Staff Image #1

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

email : anusorn.t@rsu.ac.th

ข้อมูลเพิ่มเติม

เวลาในการศึกษา : 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)
เวลาในการศึกษาต่อสัปดาห์ : 1 ชั่วโมงการเรียนรู้ (เรียนแบบออนไลน์ 100%)
ประเภทของการเรียนในรายวิชา : เรียนด้วยตนเอง
กำหนดการสอน :  * เนื้อหาทั้งสิ้น 10 บท โดย 1 บทใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมงการเรียนรู้
* ใช้เวลาเรียน 5 สัปดาห์ ไม่รวมแนะนำรายวิชาและการทำข้อสอบประมวลความรู้
ค่าธรรมเนียมการเรียน : ไม่มี
สื่อการเรียนรู้ : วีดิทัศน์สื่อการเรียนรู้ เอกสารประกอบการสอน กรณีศึกษา
และแบบทดสอบที่ใช้ในการเรียนการสอน
ภาษาหลักของสื่อการสอน : ภาษาไทย
ระดับความยากง่ายของเนื้อหา : ระดับเบื้องต้น
ความรู้พื้นฐานที่ต้องมี : -
คุณสมบัติผู้เรียน : สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมพื้นฐานทั่วไป
สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
รายวิชานี้เหมาะสมกับ :  นิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา / นักเรียน / ประชาชนทั่วไป
เกณฑ์การผ่านวิชา และได้ใบประกาศนียบัตร (หากมี): ผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ (ถ้ามี) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมผ่านการวัดผลทั้งหมด และได้ผลการประเมินไม่น้อยกว่า 70% โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

ปฏิทินการสอน

  • แนะนำรายวิชา และทำกิจกรรมก่อนการเรียนรู้
  • บทที่ 1 -เงิน วิวัฒนาการของเงิน และบทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
  • บทที่ 2 -บทบาทหน้าที่ของระบบการเงิน ค่าของเงิน มาตรฐานเงินตราและวิวัฒนาการเงินตราในประเทศไทย
  • บทที่ 3 -ตลาดการเงินในประเทศไทย และ ต่างประเทศตลาดการเงินในประเทศไทย และ ต่างประเทศ
  • บทที่ 4 -ระบบธนาคารกลาง ระบบธนาคารพาณิชย์ และ บทบาทของหนี้และเครดิตในระบบเศรษฐกิจ
  • บทที่ 5 -อปุทานและอปุสงค์ ของเงิน ระบบการบริหารเงินทุนของธนาคารพาณิชย์ การสร้างและการทำลาย เงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์
  • บทที่ 6 -ทฤษฎีระบบสถาบันการเงิน
  • บทที่ 7 -ทฤษฎีอัตราดอกเบีย ผลตอบแทนและมูลค่าของหลักทรัพย์ในตลาด
  • บทที่ 8 -สถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์
  • บทที่ 9 -ตลาดทุนและตลาดหลกัทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • บทที่ 10 -ทฤษฎีการเงินและนโยบายการเงิน
  • ช่วงเวลาทำข้อสอบประมวลความรู้ (ออนไลน์)

 

เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน

พัฒนาในกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน

 

Office of Online Education at RSU
ผลิตโดย HorizonSoft วิทยาลัย ICT มหาวิทยาลัยรังสิต
Created by วิทยาลัย ICT Rangsit University
 
CC-BY-NC-SA
Enroll