ไลฟ์แฮ็ก

"Multitasking" การทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน

1.5k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"Multitasking" การทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ทุกท่าน เคยไหมที่เราต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องมีระบบการทำงานแบบ Multitasking หรือเป็นคนที่ชอบหรือมี lifestyle การทำงานแบบ Multitasking กันบ้าง ซึ่งเราเชื่อว่าต้องมีเพื่อน ๆ ที่ชอบวิธีการทำงานแบบทำหลายอย่างพร้อมกัน หรือบางส่วนอาจจะมีคำถามในใจว่าระบบการทำงานแบบนี้มันมีประสิทธิภาพจริง ๆ หรอ? วันนี้เราจะพามาหาคำตอบกันค่ะ 🙂

12 คำว่า Multi หรือ Multiple แปลว่า หลายหรือหลากหลาย + Tasking แปลว่า งานหรือการทำงาน ซึ่งเมื่อเอามารวมกันแล้วจะแปลว่า การทำงานสองอย่างหรือหลาย ๆ อย่าง (ในเวลาเดียวกัน) จริง ๆ คำนี้จะมี 2 บริบทคือ การทำงานของคอมพิวเตอร์ และแบบที่สองคือการทำงานของมนุษย์ ซึ่งในวันนี้เราจะกล่าวถึงแบบที่สอง แปลความหมายในแบบง่าย ๆ เลยคือ การทำงานหลาย ๆ อย่างของมนุษย์ในการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะเรียกว่าเป็นความสามารถก็ได้เพราะในบางคนก็ไม่สามารถจะทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันเพราะไม่สามารถ Focus พร้อมกันได้ ตัวอย่างของ Multitasking ให้มองเห็นภาพง่าย ๆ คือ การคุยโทรศัพท์ตอนขับรถ ในบางคนก็สามารถแยกประสาทได้และ Concentrate กับทั้งสองกิจกรรมได้แต่บางคนก็ไม่สามารถแยกได้ อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาซึ่งอันตรายมากนะคะ

Advertisement

Advertisement

ๅ/

การทำงานหลายอย่าง ๆ พร้อมกันนั้นดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมก็จริงแต่ในการทำสิ่งต่าง ๆ มากมายหลายอย่างภายในเวลาเดียวกันนั้น ในการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสมองของเราไม่สามารถรับมือกับงานหลาย ๆ อย่างได้ตามที่เราคิดซึ่งในความเป็นจริงนักวิจัยบางคนแนะนำว่าการทำงานแบบ Multitasking สามารถลดประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้มากถึง 40% เลยทีเดียวหล่ะค่ะ และการที่เราทำงานแบบดังกล่าวจะทำให้เราไม่สามารถ Concentrate และ Focus ในการทำงานแต่ละอย่างได้จริง ๆ เราอาจจะเน้นการทำงานแบบสิ่งหนึ่งไปยังอีกอย่างหนึ่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งการสลับงานไปมาแบบนี้จะทำให้เรายากต่อการปรับสมาธิส่งผลให้การทำงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพ

ซึ่งจากการศึกษาการวิจัยในปี 2554 โดย Joshua Rubinstein, Jeffrey Evans และ David Meyer พบว่าผู้ที่ถูกวิจัยจะเสียเวลาจำนวนมากเมื่อพวกเขาสลับงานไปมาระหว่างการทำงานหลายงานและมีความซับซ้อนมากขี้น ดังนั้นการทำงานแบบหลายอย่างในเวลาเดียวกันอาจจะทำให้เกิดอาการ 'ไขว้เขว' และไม่ดีต่อประสิทธิภาพการทำงานและอาจจะส่งผลเสียต่อ สุขภาพสมองของคุณและการพัฒนาจิตใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลเสียในระยะยาวและเรื้อรังค่ะ

Advertisement

Advertisement

12 จากการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกงการทำงานหลายอย่างอาจไม่เลวร้ายนักซึ่งในส่วนนี้จะเกี่ยวกับการใช้ 'สื่อ' เข้ามาช่วยซึ่งการใช้สื่อมากกว่าหนึ่งรูปแบบหรือประเภทของเทคโนโลยีในคราวเดียวกันอาจจะได้ผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่า อธิบายแบบง่าย ๆ คือ การที่เราเขียนงานหรืออ่านหนังสือหากมีสื่อเช่น เสียง วิดิโอเข้ามาในบางคนจะรู้สึกว่าทำงานได้ไวกว่า อ่านหนังสือเข้าหัวมากกว่า เป็นต้น

123

มีวิธีหนึ่งที่จะทำให้การทำงานแบบ Multitasking  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี นั้นคือจากการที่เราศึกษาข้อมูล เราจะพบว่า มีวิธีหนึ่งของการทำงานแบบ Multitasking ที่ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพเรียกว่า "20-minute rule หรือแปลเป็นไทยคือกฎ 20 นาที" แทนที่จะสลับไปมาจากงานหนึ่งไปอีกงานหนึ่งอย่างต่อเนื่องพยายามทุ่มเทความสนใจของคุณไปยังงานหนึ่งเป็นระยะเวลา 20 นาทีก่อนที่จะเปลี่ยนไปทำงานอื่น ๆ หรือเน้นความสนใจอื่น ๆ ต่อไป

Advertisement

Advertisement

พ อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าในตอนนี้สถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้มีวิกฤต Covid-19 ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องประกาศให้ทุกคนมีการอยู่บ้านเพื่อกักตัว ดังนั้นส่งผลให้หลาย ๆ บริษัทมีนโยบายให้พนักงานนั้นมีการทำงานอยู่บ้านหรือเรียกว่า Work from Home เกิดขึ้นซึ่งจะใช้ระบบหรือโปรแกรมออนไลน์ ซึ่งแน่นอนค่ะว่าการทำงานในรูปแบบนี้ทำให้เราสามารถทำงานในแบบที่เราต้องการได้ เพราะไม่มีกฎหรือระเบียบอะไรมากนัก ต่างกับการทำงานในออฟฟิศที่บางครั้งอาจจะมีกฎต้องห้ามต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อเราทำงานที่บ้านก็อาจจะเผลอมีการทำงานแบบ Multitasking ได้ค่ะ อาทิเช่น อยู่บ้านเราก็อาจจะต้องเลี้ยงลูกหรือสัตว์เลี้ยงและก็ต้องทำงานไปด้วยพร้อม ๆ กัน หรือการทำงานไปทานข้าวไป เป็นต้น ซึ่งการทำงานรูปแบบนี้บ่อย ๆ จะทำให้เราเกิดการผิดพลาดในที่สุด ดังนั้นเราขอแนะนำให้เราเลือกโซนและจัดสรรเวลาสำหรับการทำสิ่งต่าง ๆ จะดีกว่าค่ะ

สรุปผลในการทำงานแบบ "Multitasking"

หลายคนอาจจะคิดและมองว่าการทำงานแบบ Multitasking นั้นดีเนื่องจากในเวลาที่จำกัดเราสามารถทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันได้ แต่หากเรามองให้ลึกลงไปแล้วนั้นการทำงานแบบทำทีละงานทีละอย่างจะช่วยทำให้เราสามารถโฟกัสกับการทำงานได้ดีมากว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า และบางครั้งถึงขั้นอาจจะทำงานได้ไวกว่าการทำงานในรูปแบบ Multitasking มากกว่าด้วยซ้ำเพราะหากเราโฟกัสงานที่เรากำลังจะทำได้อย่างเต็มที่และสนุกสนานมากกว่า สมองของเราเปิดรับมากยิ่งกว่าการที่เราสลับงานทำไปมา อีกทั้งยังช่วยรักษาสุขภาพสมองของเราอีกด้วย

ก็จบลงไปแล้วนะคะสำหรับ "Multitasking" การทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ซึ่งก็อาจจะมีผลดีผลเสียต่างกันไปแล้วแต่บุคคล เพราะในบางคนอาจจะทำงานรูปแบบ Multitasking นั้นเมื่อทำแล้วงานอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ทำงานได้ไวกว่าแต่อาจจะกลับกันในบางคน ดังนั้นหากเพื่อน ๆ มีวิธีการทำงานแบบไหนแล้วเวิร์ค สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพก็ทำตามแบบที่ตนเองถนัดเลยค่ะ สำหรับวันนี้เราขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ 🙂

  • เครดิตภาพหน้าปก :

unsplash

  • เครดิตภาพประกอบในบทความจาก unsplash :

Multitasking คืออะไร?

การทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกันดีกว่า ทำทีละอย่างจริงหรือ? (1) / การทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกันดีกว่า ทำทีละอย่างจริงหรือ? (2)

การทำงานหลายอย่างอาจไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป (?)

วิธีการทำงานแบบ Multitasking ให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร?

Multitasking ในการ Work from Home

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์