2โรคคลั่งผอม
หน้าแรก
โรคคลั่งผอม เป็นโรคหรือแค่วิตกกังวล
โรคคลั่งผอม เป็นโรคหรือแค่วิตกกังวล

โรคคลั่งผอม เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายถึงชีวิต ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและพลังงาน สาเหตุของการเกิดโรคมาจากภายในจิตใจและปัจจัยหลายอย่างรวมกัน โดยในครั้งนี้จะเป็นการอธิบายถึงสาเหตุและวิธีการรักษาโรคดังกล่าว โดยการรักษาโรคคลั่งผอมเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะต้องรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เพียงเท่านั้นยังต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในครอบครัว แต่สามารถรักษาได้

โรคคลั่งผอม คืออะไร?

โรคคลั่งผอมหรือที่เรียกว่า Anorexia Nervosa ผู้ป่วยจะมีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างของตนเอง โดยกลัวว่าจะอ้วนเกินไป เกิดขึ้นได้ทั้งในคนที่เคยมีปัญหาเรื่องรูปร่างและในคนที่มีรูปร่างปกติอยู่แล้ว ผู้ป่วยโรคคลั่งผอมจะพยายามควบคุมน้ำหนักให้ต่ำลงเรื่อย ๆ กระทั่งต่ำกว่ามาตรฐาน รูปร่างของผู้ป่วยจะผอมมากจนเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยก็ยังไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง และลดน้ำหนักต่อไป หากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ประเภทของโรคคลั่งผอม

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  • อดอาหารหรือออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว
  • อดอาหารหรือออกกำลังกายร่วมกับกระตุ้นให้อาเจียนออกมา

สาเหตุของโรคคลั่งผอม

จุดเริ่มต้นของโรคคลั่งผอม คือผู้ป่วยจะไม่พอใจในตนเอง เกิดจากพื้นฐานความรู้สึกว่าตนเองยังไม่ดีพอ หรือยังไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งที่ผู้ป่วยโรคนี้มักเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในหลายเรื่อง เช่น เป็นคนเรียนดี หรือมีความสามารถด้านอื่นที่ดี แต่คนกลุ่มนี้มักมีความคาดหวังในตนเองสูงเกินไป และไม่รู้สึกพอใจกับความสำเร็จที่เกิดขึ้น อยากทำให้สำเร็จมากกว่าที่เป็นอยู่ เมื่อถูกกระตุ้นในเรื่องของรูปร่าง เช่น โดนทักว่าอ้วน ผู้ป่วยจะกังวลเกี่ยวกับรูปร่างตนเองมากเกินไป และเริ่มควบคุมน้ำหนัก เมื่อน้ำหนักลดลงจะรู้สึกภูมิใจที่ทำได้ แต่จะยังไม่พอใจในรูปร่างและอยากลดน้ำหนักต่อไปเรื่อย ๆ เพราะทุกครั้งที่น้ำหนักลดลงผู้ป่วยจะภูมิใจและมั่นใจ กระทั่งน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานและอาจเป็นอันตรายในที่สุด

ปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคคลั่งผอม

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคคลั่งผอมมีหลายอย่าง อาจเกิดจากตนเองหรือครอบครัวและอื่น ๆ ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยบางรายเติบโตในครอบครัวที่มีความคาดหวังสูง ทำให้ผู้ป่วยไม่ค่อยพึงพอใจในตนเอง เมื่อเกิดปัญหาเรื่องรูปร่าง จึงกลายเป็นความคลั่งที่อยากจะผอมมาก ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

การรักษาโรคคลั่งผอม

การรักษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ รักษาทางด้านร่างกายและรักษาทางด้านจิตใจ

1. การรักษาทางด้านร่างกาย

หากพบว่าผู้ป่วยมีน้ำหนักลดลงมากกระทั่งอยู่ในเกณฑ์อันตราย แพทย์จะบังคับให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร หรืออาจใช้วิธีให้อาหารทางหลอดเลือด เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

2. การรักษาทางด้านจิตใจ

ต้องดูที่สาเหตุว่าเกิดจากอะไร หากเกิดจากครอบครัว แพทย์จะใช้การรักษาแบบครอบครัวบำบัด คือให้สมาชิกในครอบครัว บอกกับผู้ป่วยให้รู้ถึงคุณค่าในตนเอง อาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดของพ่อแม่ด้วย ไม่ให้คาดหวังในตัวลูกมากเกินไป แต่ถ้าหากเกิดจากสาเหตุอื่น แพทย์จะทำการรักษาไปตามสาเหตุนั้น

โรคคลั่งผอม เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาทางด้านจิตใจเป็นหลัก จัดเป็นโรคทางจิตเวชโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างของตนเองมากจนเกินไป ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และอาจเสียชีวิตได้

 

ข้อมูลโดย
รศ. ร.อ. นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ ““โรคคลั่งผอม” : พบหมอรามา ช่วง Meet The expert” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5