Eng
หน้าแรก เกี่ยวกับมูลนิธิ หลักการประเมินค่าทรัพย์สิน มาตรฐานจรรยาบรรณ
อัตราผลตอบแทน
มาตรฐานราคาค่าก่อสร้าง บทความความรู้ข้อแนะนำ เว็บบอร์ด ติดต่อมูลนิธิ
ยกเลิกต่างชาติซื้อคอนโดฯ 100% ไร้แววนักลงทุน/ ก.ม.เปิดช่อง5 ปี
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1920, 8 ก.ค. - 10 ก.ค. 2547
 
สรุปสาระข่าว
 
         กรมที่ดิน มึน! แผนกระตุ้นต่างชาตินำเงินมาลงทุนในไทย ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ ไม่เวิร์ค เผย 5 ปี ก.ม.บังคับใช้มีต่างชาติสนใจแค่ 3-4 ราย อยู่ในเขตกทม.-ปริมณฑล พร้อมยกเลิกก.ม.อาคารชุดไฟเขียวให้ต่างชาติซื้อคอนโดฯได้ยกตึก100 % ระบุชัดมีแค่ 2 โครงการที่ซื้อเกิน 49 % แถมไม่มีรายใดสนใจซื้อยกตึก
 
ข้อคิดเห็น
 
          ต่างชาติไม่ซื้อ เพราะที่ผ่านมมาราคาที่ดิน ไม่ได้เพิ่มขึ้นซ้ำช่วงวิกฤติก้ลดลงอีกต่างหาก ซื้อไปก็ไม่มีกำไร (return of investment) จึงไม่ซื้อ ซึ่งผิดกับช่วง "บูม" ของประเทศไทยก่อนวิกฤติ ที่แม้เราไม่ให้ต่างชาติซื้อ เขาก็มาซื้อกันอย่างโจ๋งครึ่มเพื่อ "ฟัน" กำไรจากการขายต่อทำกำไรจากการขายต่อ (return of investment) ส่วนที่ว่า "เชื่อต่างชาติอาศัยช่องโหว่แหกกฎซื้อที่ดินตามก.ม.อื่น อาทิ กระทรวงพาณิชย์ สัดส่วนคนไทย 51% ต่างชาติ 49%" อันนี้ไทม่ใช่ช่องโหว่ แต่เป็นช่องทางธรรมดาที่มีนานแล้ว แต่ไม่ได้ผลตามที่รัฐบาลหวัง จึงออกกฎหมายให้ต่างชาติถือครองที่ดินได้

         โปรดดู จดหมายกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี โดยดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2545 เรื่อง "โปรดอย่าอนุญาตให้ต่างชาติถือครองที่ดิน เพราะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอสังหาริมทรัพย์"

 
รายละเอียดของเนื้อข่าว
 
         กรมที่ดิน มึน! แผนกระตุ้นต่างชาตินำเงินมาลงทุนในไทย ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ ไม่เวิร์ค เผย 5 ปี ก.ม.บังคับใช้มีต่างชาติสนใจแค่ 3-4 ราย อยู่ในเขตกทม.-ปริมณฑล พร้อมยกเลิกก.ม.อาคารชุดไฟเขียวให้ต่างชาติซื้อคอนโดฯได้ยกตึก100 % ระบุชัดมีแค่ 2 โครงการที่ซื้อเกิน 49 % แถมไม่มีรายใดสนใจซื้อยกตึก เชื่อต่างชาติอาศัยช่องโหว่แหกกฎซื้อที่ดินตามก.ม.อื่น อาทิ กระทรวงพาณิชย์ สัดส่วนคนไทย 51% ต่างชาติ 49%
         จากกรณีที่กรมที่ดินได้ออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลชวน หลีกภัย ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นให้ต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศและสามารถซื้ออาสังหาริมทรัพย์ไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำเงินเข้ามาลงทุน 40 ล้านบาท ซื้ออาคารชุดแบบยกอาคาร ตลอดจนการเช่าที่ดินเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม 100 ปีที่ผ่านมานั้น
         ล่าสุด แหล่งข่าวจากกรมที่ดินเปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้กรมที่ดินได้ยกเลิกการบังคับใช้พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมอาคารชุดพ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 3) ที่มีผลบังคับใช้วันที่ 28 มีนาคม 2542ที่กำหนดให้ ต่างชาติสามารถถือครองอาคารชุดได้ เกิน 49 % หรือ ซื้ออาคารชุดได้ยกอาคาร 100 % ในเขตพื้นที่เมืองท่องเที่ยวใหญ่ และเขตเทศบาล อาทิ กทม. เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา ฯลฯ
         ทั้งนี้เนื่องจาก กฎหมายเปิดช่องไว้เพียง 5 ปี ซึ่งเดือนมีนาคม2547 ที่ผ่านมาครบกำหนดแล้วทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวหมดอายุลงไปโดยปริยาย ดังนั้นต่างชาติจึงไม่สามารถซื้ออาคารชุดเกิน 49 % หรือซื้อยกอาคารได้อีกต่อไป อย่างไรก็ดีหากตรงจพบว่า มีการปล่อยให้ต่างชาติซื้อเกินกว่ากฎหมายกำหนดภายหลังจากหมดอายุไปแล้วกรมที่ดินจะให้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินบังคับขายทอดตลาดทันที
         "กรมที่ดินเกรงว่าต่างชาติจะซื้ออาคารแบบยกตึกมากทำให้หลายพื้นที่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของต่างชาติ  ดังนั้นจึงมีข้อจำกัดของเวลามาเป็นตัวกำหนดดังกล่าว แต่พอเอาเข้าจริงปรากฎว่าต่างชาติไม่ค่อยให้ความสนใจอาคารชุดเท่าไหร่"
          อย่างไรก็ดีจากการสำรวจพบว่าระยะ 5 ปีที่ผ่านมามีชาวต่างชาติซื้ออาคารชุดเกิน 49 % เพียง 2 โครงการเท่านั้น ซึ่งเป็นอาคารชุดระดับ 1,000,000บาทขึ้นไป คือ โครงการเย็นสบายคอนโดเทล ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 49.026 % และ โครงการภูเก็ตพาเลส จังหวัดภูเก็ต 51.71 % ส่วนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะย่านสีลมยังไม่พบว่าต่างชาติซื้ออาคารชุดเกิน 49 % ตามที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด
          นอกจากนี้แล้ว พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2542 ที่กำหนดให้ต่างชาติสามารถนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไม่เกิน 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินไทยได้ ไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น จากการตรวจสอบพบว่ามีต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศ 40 ล้านบาท เพื่อซื้อพันธบัตรจำนวน 4 ราย ได้แก่ สัญชาติอเมริกัน ซื้อที่ดินที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่จำนวน 2งานกว่า สัญชาติจีน 2 ราย ซื้อที่ดินในเขตกทม. บริเวณพระโขนง เนื้อที่ติดต่อกัน 2 แปลงๆละ 3งานกว่า และสัญชาติจีนไต้หวัน ซื้อที่ดินบริเวณบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 1.63 งาน
          อย่างไรก็ดี ต่างชาติที่ซื้อที่ดินจะต้องคงสถานะการนำเงินมาลงทุนในประเทศ 5 ปี นับจากซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อป้องกันการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายเพียงแค่นำเงินมาลงทุนแล้วถอนออกไปเมื่อได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน
          นอกจากนี้ เมื่อได้กรรมสิทธิที่ดินแล้วหากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์อาคารอาทิ จากบ้านเป็น อาคารสำนักงาน โกดัง ตลอดจน อาคารที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรม โดยไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบหาก พบว่า ฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามกฎหมายจะถูกบับคับขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับสาเหตุที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนและซื้อที่ดินจำนวนที่น้อยมากเนื่องจาก เกิดจากกรมที่ดินเพิ่งออกระเบียบต่างชาตินำเงินมาลงทุนและถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เมื่อปี 2545 ดังนั้นทำให้ต่างชาติเพิ่งสามารถซื้อที่ดินได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนหน้านี้ต่างชาติก็ไม่ให้ความสนใจมากนัก แม้ว่าระเบียบออกมารองรับแล้วก็มีต่างชาติสนใจเพียงไม่กี่ราย ส่วนกรณีต่างชาติเข้ามาเช่าที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ได้ 99 ปี มีไม่มากนัก
          ต่อข้อถามที่ว่า สาเหตุที่ต่างชาติให้ความสนใจน้อยเนื่องจาก ต่างชาติอาศัยช่องหลบเลี่ยงไปใช้ช่องทางอื่น อาทิ กฎมายกระทรวงพาณิชย์ ลงทุนในนิคมอุตสหกรรม ได้รับการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ลงทุนรูปแบบตั้งบริษัทนิติบุคคล ของกระทรวงพาณิชย์สัดส่วน คนไทยถือหุ้นร้อยละ 51 ต่างชาติถือหุ้นร้อยละ 49 เป็นต้น
Area Trebs
 
10 ถ.นนทรี เขต.ยานนาวา, กรุงเทพมหานคร 10120 Tel.66.2295.3171 Fax. 66.2295 1154 Email: info@thaiappraisal.org; สถานที่ตั้ง: แผนที่