Header

โรคมะเร็งเต้านม ภัยเสี่ยงที่คุณผู้ชายก็เป็นได้

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคมะเร็งเต้านม | ภัยเสี่ยงที่คุณผู้ชายก็เป็นได้ | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายที่พบในเพศหญิงมากเป็นอันดับ 1 แต่แท้จริงแล้วในเพศชายก็มีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน จากสถิติพบว่า โดยทั่วไปเพศชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมตลอดอายุขัยอยู่ที่ 1 ใน 1,000 คน

เนื่องจากมีผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมน้อยมาก ทำให้การศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายมีน้อย หรือเป็นไปด้วยความลำบาก จึงไม่ค่อยมีการกล่าวถึงโรคนี้สักเท่าไหร่ และเป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม และส่งผลให้ผู้ชายโดยมากไม่ให้ความสำคัญในการตรวจเต้านมของตน ส่วนในรายที่พบว่าเป็นมะเร็งเต้านมก็มักจะอยู่ในระดับขั้นที่รุนแรงแล้ว ทำให้ยากต่อการรักษาและมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง

 

มะเร็งเต้านมผู้ชาย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ชายคืออะไร ?

ปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งเต้านมในเพศชายไม่ต่างจากเพศหญิง นั่นคือการมีระดับฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะกลุ่มอาการที่เรียกว่า กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ ซึ่ง มีความผิดปกติของดีเอ็นเอคือมีดีเอ็นเอของเพศหญิงเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่เกิด ทำให้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงและระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำลง มีลักษณะเหมือนเพศหญิง ผู้ชายที่เป็นกลุ่มอาการนี้จะมีความสูงกว่า ค่าเฉลี่ยปกติ ช่วงไหล่แคบกว่าช่วงเอว มีเต้านมใหญ่ ลูกอัณฑะเล็ก และเป็นหมันจากการไม่มีตัวอสุจิหรือ    มีตัวอสุจิน้อยมาก กลุ่มอาการนี้พบได้ประมาณ 1 ใน 1,000 คน

 

ผู้ชายที่เสี่ยงเป็น มะเร็งเต้านม

เนื้อเยื่อเต้านมของผู้ชายพัฒนาไปในระหว่างการใช้ชีวิต จนถึงจุดหนึ่งที่สะสมปัจจัยต่าง ๆ มากพอจะเป็นมะเร็งได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่ผู้ชายอายุต่ำกว่า 35 ปีจะเป็นมะเร็งเต้านม โดยโอกาสที่ผู้ชายจะเป็นมะเร็งเต้านมได้จะอยู่ระหว่างช่วงวัย 60 – 70 ปี

นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ผู้ชายเป็นมะเร็งเต้านมได้ ก็คือ

  • มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีประวัติการสัมผัสรังสีที่หน้าอก
  • โรคเต้านมโตในผู้ชาย (gynecomastia) หรือภาวะมีเต้านมในผู้ชาย อาจเป็นได้ทั้งสองข้างหรือเพียงข้างเดียว ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งภาวะปกติ จากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย หรือเป็นการแสดงความผิดปกติในร่างกายหรือจากโรคต่างๆ หรือจากการใช้ยาบางชนิด
  • มีการใช้ฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน)
  • ภาวะทางพันธุกรรมที่หาได้ยาก (Klinefelter’s syndrome เป็นภาวะที่เพศชายมีโครโมโซม x เกินมาหนึ่งตัวหรือมากกว่าหนึ่ง ทำให้ผู้ชายมักมีภาวะการเจริญพันธุ์บกพร่อง และอาการ    ผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ เกิดขึ้น)
  • เป็นโรคตับแข็ง โรคเกี่ยวกับลูกอัณฑะ

 

มะเร็งเต้านมผู้ชาย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

วิธีสังเกตความผิดปกติของเต้านม

อาการของมะเร็งเต้านมในผู้ชายมีอาการคล้ายกับของผู้หญิง ส่วนใหญ่จะพบเมื่อผู้ชายคนนั้นสังเกตถึงก้อนบวมบริเวณเต้านมแล้วจึงไปหาหมอ หรือไปหาเมื่อมีอาการรุนแรง เช่น มีเลือดออกจากหัวนม เมื่อถึงตอนนั้นมะเร็งอาจแพร่กระจายไปแล้ว เพราะฉะนั้นควรสังเกตความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่เสมอ นั่นก็คือ

  • มีก้อนที่เต้านม หรือเต้านมบวมผิดปกติ และไม่รู้สึกเจ็บ
  • ผิวหนังเป็นรอยบุ๋มลงไป หรือเหี่ยวย่น
  • หัวนมหดตัว หรือหันเข้าด้านใน
  • หัวนมหรือผิวหนังบริเวณเต้านม มีขนาดผิดปกติ หรือมีรอยแดง

บางครั้งมะเร็งเต้านมสามารถแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้แขนหรือรอบๆ กระดูกคอ และก่อให้เกิดก้อนบวมได้ รวมถึงก้อนบวมบริเวณเต้านมเองก็อาจขยายใหญ่ขึ้นจนรู้สึกเจ็บ

 

วิธีการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย

การรักษามะเร็งเต้านมชายจะไม่แตกต่างจากการรักษามะเร็งเต้านมหญิง โดยวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษา

  • การผ่าตัดกำจัดก้อนมะเร็ง พร้อมกับตัดเนื้อเยื่อบางส่วนของเต้านมออก
  • การฉายรังสีรักษา หรือการฉายแสง
  • การให้ยาเคมีบำบัด หรือคีโม (Chemotherapy)
  • การใช้ฮอร์โมนบำบัดระยะยาว

อัตราส่วนการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ชายน้อยมาก ๆ ทำให้หลาย ๆ ท่านมองข้ามปัญหา ผู้ชายมักไม่ใส่ใจในเรื่องมะเร็งเต้านม เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องของผู้หญิงเท่านั้น ทำให้ผู้ชายไม่ค่อยสงสัยในความผิดปกติของเต้านมตัวเอง สิ่งสำคัญคือควรสังเกตการเปลี่ยนแปลง หรือสัญญาณความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ หากสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรประมาทกันนะคะ

 

บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคมะเร็งปอด สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอด

โรคมะเร็งปอดยังคงเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตที่สูงที่สุดของมะเร็ง สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอดกลีบที่มีมะเร็งออกไปทั้งกลีบ

นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคมะเร็งปอด สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอด

โรคมะเร็งปอดยังคงเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตที่สูงที่สุดของมะเร็ง สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอดกลีบที่มีมะเร็งออกไปทั้งกลีบ

นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สารพัดโรคร้าย ทำลายตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้เป็นปกติ

สารพัดโรคร้าย ทำลายตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้เป็นปกติ

รักษามะเร็งปากมดลูก ด้วยวัคซีน HPV

การได้รับวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกันนั้น เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด นอกจากวัคซีน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบริเวณปากมดลูกแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อ HPV เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและคอได้อีกด้วย 

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รักษามะเร็งปากมดลูก ด้วยวัคซีน HPV

การได้รับวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกันนั้น เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด นอกจากวัคซีน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบริเวณปากมดลูกแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อ HPV เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและคอได้อีกด้วย 

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม