วันอังคาร 14 พฤษภาคม 2024
หน้าแรก ค้นหา

ม.มหิดล - ค้นหาผล

หากคุณไม่มีความสุขกับผลที่ได้ โปรดดำเนินการค้นหาอื่น

วิศวฯ ม.มหิดล ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ตอบโจทย์ Green University

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) ชูธงนำพลังงานทางเลือกจาก “พลังงานแสงอาทิตย์”(Solar Energy) เพื่อตอบโจทย์ Green University เสริมสร้างความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  พร้อมเดินหน้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Invertor) ต้นแบบอัจฉริยะประสิทธิภาพสูงเพื่อนำไปสู่การผลิตในประเทศให้คนไทยได้ใช้แพร่หลายในอนาคต รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โลกของเราขับเคลื่อนได้ด้วยพลังงาน โดยพลังงานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและระบบเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ในอีกประมาณ...

ESCAP ร่วมมือ ม.มหิดล พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการความยั่งยืน SDG Solutions Lab

ปัจจุบันการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนต้องใช้พลังขับเคลื่อนสูง ใช้องค์ความรู้และเครือข่ายความร่วมมือจำนวนมาก จะดีแค่ไหน หากนวัตกร นักวิจัย สตาร์ทอัพในประเทศไทยไม่ต้องลุยเดี่ยวพัฒนานวัตกรรมหรือแก้ปัญหาเพียงลำพัง แต่สามารถได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับคนเก่ง ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ด้านต่างๆในหลายประเทศมาแนะนำช่วยเหลือ หรือร่วมมือให้โครงการของคุณสู่ความสำเร็จได้เร็ว คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) โดยอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา เลขาธิการบริหาร พร้อมด้วย อัดนัน เอช.อาเลียนี (Mr. Adnan H. Aliani) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการยุทธศาสตร์และแผน...

ม.มหิดล แนะ “มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น” ควรบริโภคอย่างฉลาด

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้ วันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวัน"วันอาหารโลก" (World Food Day) เพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาความอดอยากและทุพโภชนาการ ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับต้นๆ ของเอเชีย และโลก ซึ่งปัจจุบันการรับประทานอาหารมังสวิรัติ หรือ อาหารจากพืชเป็นหลัก (plant-based diet) กำลังกลายเป็น lifestyle ในปัจจุบันที่ผู้คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งนอกจากจะมีผลดีกับสุขภาพ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ...

ม.มหิดล พลิกโลกวิชาการสู่ “ตำราแห่งอนาคต”

E-book ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกยุคปัจจุบัน โดยตอบโจทย์สังคมที่เอาชนะกันด้วยอำนาจของการเข้าถึงข้อมูลในโลกแห่งธุรกิจ เช่นเดียวกับในโลกแห่งวิชาการที่E-book ได้กลายเป็นรูปแบบใหม่ของการเรียนรู้สู่ "ตำราแห่งอนาคต" หรือ ตำราในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจการอ่านของประชากรไทย ทุกรอบ 2 - 3 ปี พบว่าในช่วง 3 ปีผ่านมา สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 75.4% จากการอ่านของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ...

ร.ศ.ดร.นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต รับรางวัล ม.มหิดล สาขาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ปี62

การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก ถือเป็นนโยบายหลักในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สนองนโยบายดังกล่าวโดยการส่งเสริมบุคลากรผู้มีผลงานการประดิษฐ์และนวัตกรรม ให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อประโยชน์สู่สังคมอย่างต่อเนื่อง รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลผู้ที่มีผลงานการประดิษฐ์คิดขึ้น ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ ซึ่งเป็นความจำเป็นเพื่อสนองตอบความต้องการและเป็นปัจจุบัน โดยเป็นผลงานที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องของสังคม และมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย หรือได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว สำหรับปีนี้มีผู้ได้รับรางวัล ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต...

ม.มหิดล แนะทางแก้ปัญหาแม่วัยใสในโลกยุคดิสรัปชั่น

วันที่ 8 สิงหาคม 2563 เป็นวันครบรอบ 53 ปีของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาที่พบในประชากรวัยรุ่นของหลายประเทศในอาเซียนคือ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อันมีสาเหตุหลายประการทั้งจากสภาพสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งกระแสสังคมบริโภคนิยมที่กำลังครอบงำโลกในยุคดิสรัปชั่น ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดหนึ่งสำหรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของ องค์การสหประชาชาติ (UN) ท่ามกลางปัญหา "แม่วัยใส" ที่ส่วนใหญ่ในโลกยุคดิสรัปชั่นเกิดจากการปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เนื่องจากขาดวุฒิภาวะและภูมิคุ้มกันต่อสื่อที่ยั่วยุเป็นปัจจัยทางสังคมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในพฤติกรรมทางเพศจนทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขณะที่ยังไม่พร้อม เนื่องจากส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยเรียนเช่นกัน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมลพรรณ...

ม.มหิดล ร่วม พันธมิตร ผลักดันโครงการสเปซ-เอฟ (SPACE-F) สู่ระดับโลก

3 องค์กรพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งโครงการสเปซ-เอฟ : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวพันธมิตรใหม่จากภาคเอกชน เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการสเปซ-เอฟ รุ่นที่ 2 โครงการสเปซ-เอฟ (SPACE-F) เป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพในการสร้างนวัตกรรมอาหารที่ผสานเทคโนโลยีขั้นสูงและมีการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ห่วงโซ่อุปทานอาหารของโลกที่ต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีความปลอดภัย โดยในระยะแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562...

เปิดตัว “เอไอ-อิมมูไนเซอร์” ความหวังใหม่กับการพัฒนาวัคซีนของม.มหิดล

คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาบันวิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกกำลังเปิดตัวนวัตกรรม “หุ่นยนต์เอไอ- อิมมูไนเซอร์”ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะครั้งแรกของไทย หวังช่วยพัฒนาวัคซีน ให้ผลแม่นยำ ประหยัดทั้งบุคลากรและเวลา และที่สำคัญคือ ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในกลุ่มนักวิจัย ถือเป็นอีกหนึ่งความหวังของคนไทย ที่จะมีวัคซีนใช้เป็นคนตนเองได้อย่างทันท่วงที

ม.มหิดล ทดสอบเปิดห้องเรียนเด็กปฐมวัย และถอดบทเรียนออนไลน์

ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดให้มีการทดลองให้เด็กจำนวน30 คนเข้าห้องเรียนต้นแบบที่มีการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข โดยให้เด็กใส่หน้ากากผ้า และรักษาระยะห่างแบบ Group Distancing ซึ่งแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มๆ ละ 5 คน ในพื้นที่ละ 5 ตารางเมตร ให้อยู่แต่ในกลุ่มของตัวเอง เพื่อจำกัดขอบเขต และลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาด และติดเชื้อ

ม.มหิดล เปิดเส้นทางสู่การผลิตแพทย์ ต่อยอดหลักสูตรชีววิทยานานาชาติ

"วิทยาศาสตร์" มีไว้เพื่อให้มนุษย์เข้าใจเกี่ยวกับตนเอง ตลอดจนปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ในขณะที่ "ศิลปะ" มีไว้เพื่อให้มนุษย์เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน MUIC จึงได้จัดการเรียนสอนแบบ Liberal Arts ที่เป็น "ศิลปวิทยาศาสตร์" จากการผสมผสานวิทยาศาสตร์กับศิลปะ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความตระหนักในตัวเอง สามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบของตนได้เต็มตามศักยภาพ

เรื่องล่าสุด

เรื่องยอดนิยม