TNN online เปิดวิธีรับมือ "พายุ" ฉบับเข้าใจง่าย ลดผลกระทบ-ลดอันตรายต่อชีวิต

TNN ONLINE

สังคม

เปิดวิธีรับมือ "พายุ" ฉบับเข้าใจง่าย ลดผลกระทบ-ลดอันตรายต่อชีวิต

เปิดวิธีรับมือ พายุ ฉบับเข้าใจง่าย ลดผลกระทบ-ลดอันตรายต่อชีวิต

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะประชาชนเตรียมพร้อมรับมือและป้องกันอันตรายจากพายุ ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ต่อชีวิต และทรัพย์สิน

ภาพจาก แฟ้มภาพ TNNONLINE




จากกรณีที่ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 4 (152/2564)  แจ้งว่า พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยพายุนี้เกือบไม่เคลื่อนที่ คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนขึ้นฝั่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน ในวันที่ 10 - 11 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร 



กอปภ.ก. จึงได้แจ้งให้ทุกจังหวัดและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์และข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยาตลอด 24 ชั่วโมง และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำสะสม ให้จัดเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรกลสาธารณภัยและทีมปฏิบัติการเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ทันที ทั้งนี้ หากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้จังหวัดดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด


วิธีรับมือ "พายุ" 


ด้าน กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะประชาชนเตรียมพร้อมรับมือและป้องกันอันตรายจากพายุ โดยติดตามพยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด


1. ตรวจสอบอาคารบ้านเรือนให้อยู่ในสภาพแข็งแรง

2. จัดเก็บสิ่งของที่ปลิวลมได้ในที่มิดชิด

3. อยู่ให้ห่างจากสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง ไม่ประกอบกิจกรรมต่างๆกลางแจ้ง

4. หลีกเลี่ยงการพกพาและสวมใส่เครื่องประดับที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า

5. งดใช้เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า 


- หากพบเห็นเสาไฟฟ้าหรือป้ายโฆษณาไม่แข็งแรงให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงแก้ไขปฏิบัติตนปลอดภัย 

- ในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองหากอยู่ในอาคารไม่ควรอยู่บริเวณดาดฟ้าหรือระเบียงเพราะเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า 



เปิดวิธีรับมือ พายุ ฉบับเข้าใจง่าย ลดผลกระทบ-ลดอันตรายต่อชีวิต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 

 

 





เปิดวิธีรับมือ พายุ ฉบับเข้าใจง่าย ลดผลกระทบ-ลดอันตรายต่อชีวิต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 

 



ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ สถานการณ์ภัย และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เตรียมความพร้อมมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น หากได้รับความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” รวมถึง สายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวแนะนำ