ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายการแพทย์ |Introduction to Medical Law


NU

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

thaimooc
 
 

รายวิชานี้มุ่งให้เรียนรู้กฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญและหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลต่อการออกกฎหมายการแพทย์ของไทย กฎหมายและกฎเกณฑ์สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์และความรับผิดของแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยคำนึงถึงหลักการสิทธิหน้าที่และข้อพึงปฏิบัติ ของแพทย์และผู้ป่วยตามกฎหมายไทย

 
 
  จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)
   
 
  1. ผู้เรียนสามารถระบุกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญและอธิบายหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลต่อการออกกฎหมายการแพทย์ของไทย
2. ผู้เรียนสามารถระบุกฎหมายและอธิบายกฎเกณฑ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์และความรับผิดของแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลของรัฐ และเอกชน
3. ผู้เรียนสามารถระบุกฎหมายและอธิบายกฎเกณฑ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วย
4. ผู้เรียนสามารถนำหลักการสิทธิ หน้าที่และข้อพึงปฏิบัติของแพทย์และผู้ป่วยตามกฎหมายไทยไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้
   
 
  นิสิต หรือนักศึกษาที่เรียนรายวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายการแพทย์ในบางสถาบันที่กำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาในระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท และกลุ่มแพทย์ผู้ให้บริการประจำทั้งโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน ที่มีความสนใจประมาณการจำนวนผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย 250 คน
   
 
  แบบทดสอบระหว่างเรียนทุกบท 60% แบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam) 40%
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
   
 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา พนมชัยชยวัฒน์
คณะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
e-Mail. jintanapo@nu.ac.th เบอร์โทร.0-5596-1710
   
 
 
นายกิตติปัญญา คุณนาเมือง
Mr.Kittipanya Kunnamuang
kittipanya@hotmail.co.th
 
 
นายนันทวัฒน์ กวนไวยบุตร
Mr.Nanthawat Kounwaiyabut
 
 
นายศรัณยู รอดจันทร์
Mr. Saranyou Rodjun
 
   
 
  Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
Enroll